ขุน-พันธ์ 3

ขุน-พันธ์ 3

ขุน-พันธ์ 3

ขุน-พันธ์ 3  กล่าวโดยไม่อ้อมค้อม การเข้ามาของอุตสาหกรรม Streaming เป็นการหยิบยื่นโอกาสให้กับผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยที่ “มีของ” แต่ติดกับดักของการทำหนังที่ “ขายได้” หรือ “ถูกปาก” รสนิยมดูหนังของคนไทย ซึ่งกล่าวแบบนี้อาจฟังดูเหมือนการเหยียดหรือเหมารวม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนังไทยที่ทำเงินเกินร้อยล้านในห้วงที่ผ่านมาล้วนแล้วแต่วงเวียนอยู่กับหนังตลก หนังผี และหนังตระกูลเดิม ๆ ของผู้กำกับบางคน ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย แต่ก็ทำให้ผู้กำกับหนังคุณภาพหลายคน ค่อย ๆ หายไปจากยุทธภพทีละคน ๆ

การกลับมาของขุนพันธ์ 3 ในชื่อตอน “วันพิพากษา” ยังคงเป็นหนังไทยที่ดูสนุกมากเรื่องหนึ่ง กล่าวได้เลยว่าเป็น Guilty Pleasure แบบเดียวกับหนังที่ตอนนี้กลายมาเป็นหนัง Cult อย่าง Tremors หรือ Starship Troopers ส่วนสำคัญต้องยกนิ้วให้กับผู้กำกับ คุณก้องเกียรติ โขมศิริ ขุนพันธ์ 3 และทีมงานทุกคน ตั้งแต่ Costume ทีมจัดหา Location ไปจนถึงทีมเขียนบทที่สามารถแก้ปัญหาทางศีลธรรมได้ดี เช่น เรารู้ว่าตำรวจชั่ว แต่ในหนังไทยตำรวจจะฆ่าตำรวจไม่ได้ จึงสร้างศัตรูใหม่เป็นผีดิบ จระเข้ หรือใช้โจรปราบโจรแทน ซึ่งเป็นทางออกทางศีลธรรที่ชาญฉลาดบนพื้นฐานของการสร้างหนังบนสังคมไทยที่ซับซ้อนและมีข้อจำกัด

ขุนพันธ์3'ระเบิดความมันส์ 'อนันดา'สู้ศึก2เสือ'มาริโอ้-โตโน่'“สหมงคลฟิล์ม  อินเตอร์เนชั่นแนล”

ที่ต้องปรบมือให้ดัง ๆ คือ ดนตรีประกอบของคุณเทิดศักดิ์ จันทร์ปาน ที่เปรียบได้กับ John Williams ของไตรภาคขุนพันธ์ การสร้าง Theme ของขุนพันธ์ที่ติดหูมีส่วนสำคัญในการสร้างตัวละคนให้น่าจดจดและเอาใจช่วย แต่แทนที่คุณเทิดศักดิ์จะทำ Original Score ออกมาขาย ซึ่งผมเชื่อว่ามีกลุ่มลูกค้าไม่น้อย ท่านกลับปล่อยให้ฟังฟรี ๆ บน YouTube สุดยอดไปเลยครับ

สำหรับเนื้อเรื่องของขุนพันธ์ 3 กล่าวแบบตรงไปตรงมา คือ ดำเนินตามสูตรสำเร็จของทั้งสองภาคที่ผ่านมาทุกประการ คือ ขุนพันธ์ได้รับภารกิจไปปราบเสือร้าย โดนหักหลังจากคนที่ไว้ใจ ต้องเอาตัวรอดจากความตายอย่างหวุดหวิด สุดท้ายก็ได้รับความช่วยเหลือจากอดีตศัตรูจนมีชัยเหนือตัวแทนของรัฐที่บิดเบี้ยวในที่สุด

แต่กระนั้นเลย หากสูตรสำเร็จทำได้สนุก แล้วไฉนจะต้องเปลี่ยน ไม่ต่างจากสูตรสำเร็จในหนัง James Bond 007 ที่ดำเนินเรื่องตามสูตรแบบเดียวกันทุกภาค เปลี่ยนแค่นักแสดง บริบท สาวบอนด์ และภารกิจเท่านั้น แต่ก็ยังประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ส่วนบางฉากที่ดูคล้ายจะลอกหรือคารวะหนังบางเรื่อง เช่น ตัวละครจากชุมเสือดำที่เหมือนตัวละครจาก Live and Let Die ก็ต้องบอกว่าในวงการศิลปะ Originality ไม่เคยมีจริง มีการหยิบยืมไอเดียไปใช้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้แล้วโดนหรือแป๊กเท่านั้นเอง ซึ่งขุนพันธ์ 3 ทำได้ค่อนข้างดี และสนุกจนอยากดูซ้ำอีกรอบ

สุดท้ายนี้ ต้องขอบคุณผู้กำกับ นักแสดง และทีมงานทุกคนที่ทำให้ไตรภาคขุนพันธ์เป็นหนึ่งในหนังไทยที่ดีที่สุดเท่าที่เคยดูมา ไม่ใช่ในทางคุณค่าแบบวรรณกรรมเพื่อชีวิตหรือนวัตกรรมใหม่แก่โลกภาพยนตร์ แต่เป็นหนังที่หยิบยกบุคคลในประวัติศาสตร์มาแต่งเติมและเขียนขึ้นมาตามจินตนาการ เป็นเหมือนกับนิยายยุคพนมเทียนที่ทำให้คนอ่านอยากลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง และสะท้อนให้เห็นว่าการสร้างสังคมที่ดีมีอุปสรรคมากมาย แต่มันก็ไม่ช่วยอะไรเลย ถ้าเรามัวแต่นั่งบ่นหรือปล่อยให้คนอื่นทำหน้าที่ เพราะท้ายที่สุดก็คงถูกกลืนหายไปในประวัติศาสตร์ ไม่มีตัวตนและไม่มีร่องรอยให้จดจำ

สั้น ๆ เลย ขุนพันธ์เป็นหนังไทยที่โครตเท่

มีการกำกับภาพที่ยอดเยี่ยม และดนตรีประกอบที่ทำให้อยากกลับไปฟังทุกครั้งที่ต้องตัดสินใจอะไรยาก ๆ ในชีวิต เพราะบางครั้งที่ต้องเผชิญหน้ากับความกลัวและความไม่แน่นอน ก็อยากก้าวออกไปข้างหน้าแล้วพูดกับสิ่งเลวร้ายเหล่านั้นว่า “ถ้าเอ็งสัญญาว่าจะเลิกเป็นโจร ข้าจะจับเป็นเอ็ง”

ปล.คุณก้องเกียรติ โขมศิริ เป็นผู้กำกับที่มือถึงพอที่จะทำหนังเพชรพระอุมา โดยแบ่งออกเป็นไตรภาค และขอจองตัวผู้พันเบิร์ดให้เป็น พ.ท. ม.ร.ว.เชษฐา วราฤทธิ์ ส่วนจะให้อนันดาหรือดาราพม่าเป็นแงซายก็ย่อมได้ ส่วนพี่น้อย วงพรู เป็นจอมผีดิบมันตรัย เหมาะมาก คุณก้องเกียรติ มีนักแสดงชั้นยอดอยู่แล้ว ถ้าผ่านมาเห็นรีวิวนี้ช่วยพิจารณากำกับงานชั้นครูของท่านพนมเทียนไว้ด้วยเถอะครับ

ปีนี้ดูหนังไทยในโรงฯ มากกว่าทั้งชีวิตรวมกัน ตั้งแต่ App War, Girls Don’t Cry มาจนถึงขุนพันธ์ 2 ต้องบอกว่าเรื่องหลังประทับใจมากที่สุด
เราชอบตัวละครในหนังของก้องเกียรติ โขมศิริ มาแต่ไหนแต่ไร ทั้งงานกำกับและงานเขียนบท ตั้งแต่ไชยา เฉือน เปนชู้กับผี (บท) ตัวละครของเขามีหลายตัวที่แม้เราจะจดจำชื่อไม่ได้ แต่ยังจำแบ็คกราวน์และแรงขับเคลื่อนของตัวละครเหล่านั้นมาจนถึงทุกวันนี้ เช่นเดียวกับในขุนพันธ์ 2 ที่น่าจะเป็นตัวละครเดียวของหนังไทยในปัจจุบันที่มีเพลง Theme เป็นของตนเอง ซึ่งเท่มาก งานดนตรีประกอบมีส่วนขับเน้น storytelling เป็นอย่างมาก

ก่อนเราดู เราบอกกับตนเองว่าต้องทำใจให้กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง สมัยที่ยังนั่งดู Rurouni Kenshin (Samurai X) อย่างเพลินใจ ไม่คิดอะไรให้มันหนักสมอง แต่จริงๆ แล้วขุนพันธ์กลับมีอะไรให้คิดมากกว่าฉากแอกชั่นเหนือธรรมชาติที่เราคิดว่าทำได้สนุกดี (ไหนๆ จะเวอร์แล้วก็ต้องไปให้สุด จริงมะ) โดยเฉพาะสัญญะเรื่องของดำเป็นขาว และขาวเป็นดำ ตำรวจที่เลวกว่าโจร และโจรที่ดีกว่าตำรวจ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในระบบราชการไทยทุกยุคทุกสมัย ปีศาจในเครื่องแบบ และฮีโร่ในคราบโจร คลาสสิคดีแท้ขุนพันธ์ 3” บทสรุปแห่งไตรภาค...ที่ “ความตาย” พร้อมพิพากษา 2 มีนาคม 2566  พร้อมจับตาย ในโรงภาพยนตร์ - StarEnews.com

มีหลายสิ่งที่น่าชมเชย เราชอบ Cinematography ในขุนพันธ์มาก การเล่นแสงและเงา ทีม costume ความละเอียดของงาน และการทำการบ้านมากมายทั้งบริบท โลเคชั่น ไสยศาสตร์ ความเชื่อ มันช่วยกลบข้อจำกัดของ CGI ไปได้มาก

โดยสรุปแล้ว ขุนพันธ์ 2 เป็นหนังที่เราดูแล้วรู้สึกกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง สมัยที่ยังใฝ่ฝันจะโตขึ้นเป็นชายในเครื่องแบบคอยปราบเหล่าร้าย และเราเชื่อว่าในปัจจุบัน เราต้องการหนังแบบขุนพันธ์ที่จะช่วยเป็นตัวแบบของความยึดมั่นในเกียรติและหน้าที่ของข้าราชการที่ดี แม้ว่าความจริงจะโหดร้ายแค่ไหน การยืนหยัดต่อสู้อาจจะไม่ได้จบแบบแฮปปี้เอนดิ้งแบบในหนัง (ซึ่งก็มีตอนจบสองแบบให้เราเลือก) แต่มันก็ดีกว่าการที่เราไม่มีอะไรให้ยึดถือเลย จริงมั้ย?

เรื่องราวในภาคนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ขุนพันธ์ (อนันดา เอเวอริงแฮม)

ถูกนำตัวมาสอบสวนในข้อหามีส่วนเกี่ยวข้องกับการปล้นของกลุ่มโจรเสือฝ้าย ทำให้เขาถูกสั่งย้ายไปประจำการที่บ้านเกิด และเขาได้ใช้ชีวิตร่วมกับ ครูนู่น (พลอย-ชิดจันทร์ ห่ง) ภรรยาและลูกในท้อง เฉกเช่นคนธรรมดา

ขณะเดียวกัน เสือมเหศวร (มาริโอ้ เมาเร่อ) และ เสือดำ (โตโน่-ภาคิน คำวิลัยศักดิ์) สองเสื้อร้ายอาคมกล้าแห่งภาคกลาง ก็ยังคงเดินหน้าออกปล้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุให้ขุนพันธ์ถูกไหว้วานให้กลับมาปฏิบัติหน้าที่เพื่อปราบปรามสองเสื้อร้ายอีกครั้ง

เมื่อเรามองย้อนกลับไปตั้งแต่ ขุนพันธ์ ภาคแรกที่ออกฉายในปี 2559 ว่ากันตามตรง ภาพยนตร์เรื่องนี้ดูจะมีความขาดๆ เกินๆ อยู่พอสมควร ทั้งการออกแบบฉากแอ็กชันและวิชวลเอฟเฟกต์ที่ยังไม่ลงตัวมากนัก หรือกลวิธีการนำเสนอที่ยังไม่ชวนให้เราติดตามเท่าที่ควร (เว้นเพียงการแสดงของ น้อย-กฤษดา สุโกศล แคลปป์ ที่ตีความและถ่ายบทบาทของ อัลฮาวียะลู ออกมาได้อย่างจดจำ)

แต่เมื่อภาพยนตร์ ขุนพันธ์ 2 ออกฉายในปี 2561 เราจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนถึงองค์ประกอบหลายๆ ส่วนที่ถูกพัฒนาให้มีความกลมกล่อมมากขึ้น โดยเฉพาะการปรับทิศทางให้ฉากแอ็กชันแฟนตาซีมีความชัดเจนและแข็งแรงมากขึ้น รวมถึงกลวิธีการนำเสนอที่ตรงไปตรงมามากขึ้น และการออกแบบคาแรกเตอร์ของทุกตัวละครที่สร้างสรรค์มาได้อย่างมีเสน่ห์ไม่แพ้ภาคแรก

และตอนนี้เราก็มาถึง ขุนพันธ์ 3 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ปิดไตรภาคจักรวาลขุนพันธ์กันแล้ว ผู้เขียนคิดว่านี่คือภาคที่ผู้กำกับและทีมสร้างอัปสเกลของภาพยนตร์ให้ ‘ไปสุดทุกด้าน’ มากกว่า 2 ภาคที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด จนเราอาจกล่าวได้ว่า นี่คือ ขุนพันธ์ ภาคที่บ้าขั้นสุด เท่เกินพิกัด และเปี่ยมไปด้วยมนตร์เสน่ห์ ก็คงไม่เกินจริงนัก

ประการแรกคือ การออกแบบฉากแอ็กชันที่ลงตัวมากขึ้น ทั้งฉากบนรถไฟที่ดูสมจริงสมจังมากขึ้นกว่าภาคแรก ฉากการเปิดตัวเสือมเหศวรและเสือดำที่สร้างภาพจำให้เราได้ตั้งแต่แรกเห็น ฉากดวลตัวต่อตัวระหว่างขุนพันธ์และเสือดำที่เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญของเรื่อง ฉากแอ็กชันใหญ่ในช่วงท้ายเรื่องที่มีการลำดับเหตุการณ์ในแต่ละช่วง เพื่อปลุกเร้าความตื่นเต้นให้ผู้ชมได้เป็นอย่างดี รวมถึงการแบ่งแอร์ไทม์ให้แต่ละตัวละครได้โชว์ฝีไม้ลายมือของตัวเองได้อย่างเหมาะสม

อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่เข้ามาเสริมให้ฉากแอ็กชันดุเดือดมากขึ้นคือ งานสเปเชียลเอฟเฟกต์และวิชวลเอฟเฟกต์ ที่เสริมให้การใช้คาถาอาคมของขุนพันธ์และเหล่าเสือนั่นเปี่ยมมนตร์ขลัง ไปจนถึงเหล่าภูตผีปีศาจที่ตบเท้ามาร่วมสร้างความชุลมุนในสมรภูมิครั้งนี้อย่างเนืองแน่น บวกด้วยงานโปรดักชันส่วนอื่นๆ อย่างเช่น การออกแบบมุมกล้อง ดนตรีประกอบ การออกแบบเสื้อผ้า หน้าผม ที่ทำให้การต่อสู้สุดท้ายอัดแน่นไปด้วยฉากเท่ๆ มากมายให้เราจดจำ ซึ่งทั้งหมดนี้ยังทำให้เราสัมผัสได้ถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของทีมสร้างที่บรรจงสร้างสรรค์ฉากแอ็กชันเหล่านี้ให้ออกมายิ่งใหญ่และสมบูรณ์แบบมากที่สุดไปพร้อมกันอีกด้วย

นอกจากฉากแอ็กชันที่เรียกได้ว่าระเบิดภูเขาเผากระท่อมกันแบบไม่ยั้ง ขุนพันธ์ 3

ยังเป็นภาพยนตร์ที่พาเราเข้าไปสำรวจแง่มุมที่ ‘เปราะบาง’ ของมือปราบคงกระพันอย่างขุนพันธ์มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อเขาต้องเผชิญหน้ากับความตาย และการตั้งคำถามต่อความศรัทธาของตัวเองว่า สิ่งที่เขาเคยทำไปทั้งหมดนั้นคือสิ่งที่ถูกต้องแล้วแน่หรือ รวมถึง ‘คุณธรรม’ และ ‘กฎหมาย’ ที่เขาเชื่อมั่นนั้นได้ทำหน้าที่มอบความเป็นธรรมแก่ผู้คนอย่างที่ควรจะเป็นจริงๆ หรือไม่ หรือมันกำลังถูกผู้มีอำนาจบางคนใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้ตนเองอยู่กันแน่

มาถึงองค์ประกอบที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องนั่นคือ สองเสือร้ายอาคมกล้าอย่างเสือมเหศวรและเสือดำ ที่ออกแบบคาแรกเตอร์ได้อย่างมีเสน่ห์ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หน้าผม ที่ช่วยขับเน้นความเท่และดุดันของตัวละครให้ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงการแสดงของมาริโอ้และโตโน่ที่นำเสนอเรื่องราวของตัวละครออกมาได้น่าสนใจไม่แพ้ตัวละครหลักอย่างขุนพันธ์ ทั้งเสือมเหศวรที่มาพร้อมความเฉลียวฉลาด เจ้าแผนการ และมีความเป็นผู้นำสูง และเสือดำที่เคร่งขรึม ดุดัน ตรงไปตรงมา และน่าเกรงขาม

สำคัญที่สุด เรื่องราวและอุดมการณ์ของเสือทั้งสองยังชวนให้เราตั้งคำถามต่อผู้รักษากฎหมายไปจนถึงผู้มีอำนาจมากมายที่พร่ำบอกว่า มีหน้าที่ปกป้องผู้คน พวกเขากำลังทำเพื่อผู้คนจริงๆ หรือเพื่อรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตนเองไว้กันแน่ ซึ่งน่าแปลกที่ฉากหลังภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกวางไว้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่บางคำพูดของตัวละครก็ชวนให้เรารู้สึกคุ้นเคยเหมือนสิ่งเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ขุนพันธ์ 3 ก็มีข้อสังเกตที่เราแอบติดขัดอยู่เช่นกัน ประการแรกคือ การพยายามสอดแทรกฉากบางฉากที่เราคิดว่ามันไม่ได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเรื่องราวเข้ามามากจนเกินไป เช่น การแฟลชแบ็กหลายๆ ฉากที่เราคิดว่าสามารถเล่าผ่านบทสนทนาแทนได้ หรือฉากแอ็กชันเล็กๆ น้อยๆ ที่เราคิดว่าหากนำออกไปก็น่าจะทำให้ตัวภาพยนตร์มีความกระชับมากขึ้น

อีกหนึ่งข้อสังเกตที่เราติดขัดเป็นการส่วนตัวคือ กลวิธีการนำเสนอที่ผู้กำกับพยายามสร้างความสลับซับซ้อนให้กับเรื่องราวมากเกินไปสักหน่อย เช่น การหักเหลี่ยมเฉือนคมของตัวละครที่เรารู้สึกว่ายังไม่น่าสนใจเท่าไรนัก จนบางฉากหากผู้กำกับลองลดความซับซ้อนของเรื่องลงอีกสักหน่อย ก็อาจทำให้ตัวภาพยนตร์มีความลื่นไหลและกลมกล่อมมากขึ้นกว่านี้

ในภาพรวม แม้ว่าจะมีข้อสังเกตที่เรารู้สึกติดขัดอยู่บ้าง แต่ ขุนพันธ์ 3 ก็ยังเป็นภาพยนตร์ฮีโร่ไทยที่เปี่ยมไปด้วยมนตร์เสน่ห์ที่ชวนให้เราหลงใหลและสนุกสนานไปกับเรื่องราวที่ผู้สร้างต้องการนำเสนอ

ทั้งการออกแบบคาแรกเตอร์ที่จัดจ้าน ฉากแอ็กชันที่ถูกอัปสเกลให้ยิ่งใหญ่สมกับการปิดไตรภาค การออกแบบคาถาอาคมและความแฟนตาซีที่สร้างสรรค์ งานโปรดักชันที่เราสัมผัสได้ถึงแพสชันของทีมงานเบื้องหลังอย่างชัดเจน รวมถึงการหยิบนำประเด็นทางการเมืองมาร้อยเรียงเข้ากับเรื่องราวเหนือจินตนาการได้อย่างน่าสนใจ จนทำให้เราพร้อมที่จะโอบกอดความไม่สมบูรณ์แบบบางจุดและปรบมือให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยความยินดี

continuecurioso

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *