หนัง คนหิว เกมกระหาย เต็มเรื่อง
หนัง คนหิว เกมกระหาย เต็มเรื่อง สำหรับหนังไทยเรื่องนี้นั้นเปิดตัวออกมาทาง Netflix ได้พักหนึ่งแล้ว ส่วนตัวผมเพิ่งมีเวลาและมีอารมณ์จึงเพิ่งได้ดู ช่วงแรกๆ ตอนที่หนังเปิดตัวออกมาผมก็ได้เห็นรีวิวมาบ้างที่มีทั้งคนชอบและคนไม่ชอบ ทว่าสำหรับผมแล้วผมกลับรู้สึกกลางๆ คือไม่ได้ถึงกับชอบ แต่ก็ไมไ่ด้ถึงกลับเกลียด ส่วนที่ผมชอบคือองค์ประกอบโดยรวมของหนังที่ทำออกมาได้ค่อนข้างดูดีตามมาตรฐาน Netflix ทั้งการถ่ายทำ งานโปรดักชั่น และการแสดงของเหล่านักแสดงนำ ส่วนสิ่งที่ผมไม่ชอบมันก็คล้ายๆ กับที่ทุกคนบอกกัน คือเรื่องราวสมจริงสมจัง อย่างฉากที่นางเอกมาผัดข้าวตอนคัดตัว แค่ใช้ข้าวเก่ามันดูเป็นอะไรที่ทุกคนก็รู้ มันจึงแปลกมากที่เชฟระดับสูงอีกคนที่เป็นคู่แข่งของนางเอกจะไม่รู้เรื่องนี้เลย อีกอย่างก็คือหน้าตาอาหารของนางเอกที่เป็นตัวชูของเรื่องอยากผัดหมี่งอแง คือมันควรจะทำให้ดูหน้าตาดีกว่านี้หน่อย เพราะเมนูที่ธรรมดา ไม่ได้แปลว่าต้องจัดจานเสิร์ฟแบบธรรมดา มันยกระดับขึ้นได้อีก
โชคยังดีที่ยังมีส่วนอื่นๆ ในเรื่องที่ดึงความสนใจของผมและทำให้รู้สึกชอบหนังเรื่องนี้ขึ้นมาบ้าง คนหิว เกมกระหาย นั่นคือการเสียดสีสังคมที่หนังพยายามสอดแทรกไว้ที่ถึงแม้ว่ามันจะสื่อแบบโต้งๆ ไม่ได้ซ่อนนัยยะอะไรมากมาย แต่การมีฉากเสียดสีเหล่านี้เข้ามาในเรื่องมันก็ยังดีกว่าไม่มีเลย
เช่น การออกครัวครั้งแรกของนางเอกที่ไปทำอาหารให้เหล่านักการเมืองในธีมกินเลือดกินเนื้อ ฉากนี้คือผมชอบที่สุดแล้ว รวมไปถึงการมุ่งไปประเด็นที่ว่าอาหารของเชฟพอลมันอร่อยขนาดที่คนยอมทำทุกวิถีทางเพื่อจะได้กินเลยหรอ ซึ่งตอนท้ายหนังก็สื่อออกมาชัดๆ ว่า
อาหารมันก็ไม่ได้ไร้ที่ติหรอก เพียงแต่เพราะเชฟพอลมีชื่อเสียงจึงทำให้คนโหยหา อธิบายง่ายๆ ก็คือ การได้กินอาหารของเชฟพอลมันเป็นเหมือนการยกระดับทางสังคมที่เอาไปอวดคนว่าเคยกินมาแล้ว โดยส่วนตัวผมไม่ได้เห็นด้วยกับเรื่องนี้ทั้งหมดและดูจะฟังความข้างเดียวไปหน่อย เพราะในโลกนี้ยังมีเชฟดีๆ อีกหลายคนที่รักการทำอาหารและตั้งใจทำมันจริงๆ ด้วยวัตถุดิบที่ดี ดังนั้น ดูหนังเรื่องนี้ด้วยความบันเทิงพอ อย่าอินมากจนไปเกลียดวงการอาหารก็แล้วกัน
ต่อมาคือด้านการแสดง อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่านักแสดงนำในเรื่องส่วนใหญ่แสดงดีกันหมด แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดเช่นกันครับ เพราะบางตัวละครก็พูดแข็งๆ เหมือนท่องสคริปต์ คือดูไร้อารมณ์และมันโดดออกจากโทนหนังไปมาก บวกกับตัวบทที่บ้างครั้งดันพยายามใส่คำคมเข้ามาเยอะเกินจนทำให้แอบดูตลกๆ ไปบ้าง คำบางคำมันก็ไม่ได้เป็นคำที่คนทั่วไปใช้ในชีวิตประจำวันขนาดนั้น ต้องบอกก่อนว่าอันนี้ในมุมมองส่วนตัวของผมนะ
ถึงผมมองคำพูดบางคำมันดูขัดดูตลก แต่ผมก็มั่นใจว่าคนอื่นๆ อาจเฉยๆ และไม่ได้รู้สึกแบบเดียวกันก็ได้ สรุปโดยรวมก็คือ หนังเรื่องนี้เป็นหนังไทยอีกเรื่องที่มีทั้งดีและเสียปะปนกันไป ตัวบทก็ไปไม่สุดขนาดนั้น เลยไม่ได้มีอะไรน่าจดจำเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม อย่าเชื่อทั้งหมดที่ผมรีวิว เนื่องจากรีวิวนี้เป็นเพียงความรู้สึกส่วนตัวของผมเท่านั้น ผมไม่ได้ชอบแต่ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะคิดแบบเดียวกัน ทางที่ดีที่สุดคือทุกคนต้องไปรับชมและตัดสินมันด้วยตาของตัวเอง
นอกจากนี้ยังมีจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ Hunger
ที่น่าเสียดายอีกหลายอย่าง เช่น การที่ตัวละครเป็นเชฟที่ดูเก่งกาจ แต่บางอย่างก็เล่นง่าย ๆ เช่นการใช้ข้าวค้างคืนทำข้าวผัดที่ทำให้เชฟพอลทึ่ง อาจจะทำตัวละครดูเสียความน่าเชื่อถือ และการแสดงที่ดูจะเน้นไปในทางที่ดู stylised เพื่อเน้นสื่อความหมายจนบางครั้งอาจจะดูไม่เป็นธรรมชาตินัก หรือการที่ช่วงหลังเมื่อความเข้มข้นของบริบทเรื่องการเสียดสีการเมืองลดน้อยลง และความกระชับของเรื่อง และเวลาที่เสียไปกับบางอย่างที่ดูอาจจะไม่จำเป็นนักอย่างเส้นเรื่องความรักของออย ก็แลกมากับความผูกพันกับตัวละครที่น้อยลง ซึ่งส่งผลกระทบกับช่วงท้ายของเรื่อง เมื่อคนดูได้อยู่กับการเดินทางของออยในวงการอาการแบบเต็ม ๆ ก็อาจจะพบว่ารักตัวละครไม่พอที่จะเอาใจช่วยเธอได้จนหมดใจ
แต่ถึงแม้จะเรียกว่าเป็นภาพยนตร์ที่สมบูรณ์แบบไม่ได้ ทว่าข้อผิดพลาดก็ไม่สามรถลบล้างความสนุกเมื่อได้เห็นประเด็นสังคมแปลงร่างไปเป็นอาหารในจอ และการเชื่อมโยงอาหารและชนชั้นไว้อย่างน่าสนใจ Hunger จึงนับเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่จุดประกายความหวัง ว่าสักวันเราจะชมภาพยนตร์ไทยที่สอดใส้ความหมายไว้อย่างเข้มข้น โดยที่ไม่ต้องยอมประนีประนอมในบางจุดอีก
เป็นกระแสอยู่ในตอนนี้สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “Hunger คนหิว เกมกระหาย” ที่เพิ่งเข้าฉายทางสตรีมมิงเจ้าหนึ่งไปเมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมาออเดิร์ฟก่อนลิ้มรสจานเด็ด! Netflix ปล่อยทีเซอร์ภาพยนตร์ “คนหิว เกมกระหาย (HUNGER)”
“Hunger คนหิว เกมกระหาย” เป็นผลงานการกำกับของ “สิทธิศิริ มงคลศิริ” หนังบอกเล่าเรื่องราวของ “ออย” (ออกแบบ ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง) ที่ตัดสินใจทิ้งร้านราดหน้า-ผัดซีอิ๊วข้างทางไปร่วมทีม HUNGER ทีมเชฟอันดับ 1 ของประเทศของ “เชฟพอล “(ปีเตอร์ นพชัย ชัยนาม)
โดยที่เรื่องนี้เป็นประเด็นดรามาขึ้นมาก็เนื่องจากหลายคนมองว่าเรื่องราวต่างๆ ที่บอกเล่าผ่านการทำหน้าที่ของตัวละคร “เชฟ” บรรยยากาศในห้องครัวนั้นผิดไปจากความเป็นจริงแบบไกลลิบ แถมแต่ละฉากนั้นก็ไม่มีความสมจริงสมจัง และขาดความน่าเชื่อถือเอามากๆ
หนึ่งในคนดังที่ออกมาพูดถึงหนังเรื่องนี้ในมุมของตนเองกระทั่งกลายเป็นข่าวขึ้นมาก็คือทางด้านของ “หนุ่ม กิติกร เพ็ญโรจน์” ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด เจ้าพ่อเรียลลิตี้เมืองไทย ผู้ปลุกปั้น “เชฟกระทะเหล็ก”, “MasterChef Thailand” ที่ระบุผ่านโซเชียลของตนเองว่า…
“เป็นภาพยนตร์ที่ไม่ให้เกียรติกับอาชีพและความทุ่มเทของคำว่า ‘เชฟ’ ,หนังสนุกดี แต่ดูแล้ว พวกมึ-ไม่ต้องมาเป็นเชฟหรอก ไม่ต้องเรียนหรือพัฒนาอะไรหรอก เพราะอาหารเชฟเอาไว้หลอกคนรวย คนหิวเกมกระหาย Hunger เชฟโง่ คนกินก็โง่ แต่ที่สุดๆ คือเชฟตัวจริงเสื-กไปเล่นในหนังเรื่องนี้อีก. บทสรุปของหนังคือ ‘เชฟ’ ที่ประสบความสำเร็จได้ คือ ‘เชฟ’ ที่ต้องหลอกลวงคนกิน แล้วเชฟตัวจริงก็เสื-กไปเล่นให้อีก”
ไม่ใช่แค่บรรดาเชฟเท่านั้นที่ออกมาแสดงความเห็นดังกล่าว หากแต่คนดูบางส่วนที่ไม่ใช่เชฟก็รู้สึกดังกล่าวด้วยเช่นกัน อย่างแฟนเพจ “ตั๋วร้อนWorldwide” ที่มีการวิจารณ์ถึงหนังเรื่องนี้โดยได้บทสรุปว่า…”เอาเป็นว่าคนทั่วไปอาจสนุกไปกับหนัง แต่คนในวงการครัว ร้านอาหาร ดูแล้วน่าจะหงุดหงิด เพราะมีอะไรผิดที่ผิดทาง ใช้ทางลัดโกงคนดูไปซะหมด
อย่างไรก็ตาม ที่ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นที่ถกเถียงกันมากยิ่งขึ้นแบบดุเด็ดเผ็ดมันไปอีกก็คือบรรดาคนที่ชอบหนังเรื่องนี้ได้มีการแสดงความเห็นสวนบรรดาคนที่เรียกร้องหาความสมจริงสมจังของหนัง โดยบอกทำนองว่า “อยากดูความสมจริง ไปดูหนังสารคดีสิ” ประเด็นนี้ก็เลยกลายเป็นดรามาขึ้นเป็นสองเท่า
อันที่จริงในส่วนที่เป็นดรามานั้นก็ต้องบอกว่าเข้าใจได้ทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบ
เพราะจะว่าไปแล้วหนังสมควรถูกต่อว่าในเรื่องดังกล่าวจริงๆ แต่กระนั้นหากมองไปยังจุดมุ่งหมายของหนังจริงๆ แล้วเราจะพบว่าหนังตั้งใจจะประชดประชันบอกเล่าถึงความเหลื่อมล้ำของชนชั้นผ่านเรื่องการรับประทาน ซึ่งหนังก็มีการใส่กันเข้ามาแบบโต้งๆ ไม่ต้องมีชั้นเชิงอะไรว่าเรื่องนี้หนังกำลัง “ว่า” หรือ “แดก” ใครอยู่ เพราะฉะนั้นในส่วนที่จะมาสนใจความสมจริงสมจังอะไรนั้นจึงเป็นเรื่องรองลงไป
หรือให้ถูกต้องถ้าดูจากการเล่าเรื่องแล้วก็คือเป็นเรื่องที่ตัวผู้กำกับเองอาจจะไม่สนใจเสียด้วยซ้ำไป
ส่วนกับคำถามยอดฮิตว่าแล้วตกลงหนังสนุกมั้ย อันนี้ก็ต้องบอกว่าแล้วแต่รสนิยมความชอบจริงๆ หากเป็นคนชอบแดกคน ชอบเรื่องการกระแนะกระแหนสังคม หรือคนที่ตัวเองไม่ชอบก็อาจจะชอบหนังเรื่องนี้และรู้สึกว่าสนุกดี แต่ถ้าใครที่คาดหวังถึงความ “สนุก” แบบหนังทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่ก็อาจจะบอกไม่ชอบ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นที่ต้องย้่ำก็คือ “Hunger คนหิว เกมกระหาย” ไม่ใด้เป็นหนังที่ต้องการจะเสนอเรื่องของการทำอาหาร ไม่ได้เกี่ยวกับความเข้มข้นในโลกของการเป็นเชฟ แต่มุ่งสนองความคิดของผู้กำกับเกี่ยวกับเรื่องคนในสังคมในมุมของตัวเองเป็นหลัก เพราะฉะนั้นหากใครที่ต้องการจะไปดูหนังเพราะคาดหวังเรื่องที่ว่าก็อย่าเสียเวลาเพราะจะเสียอารมณ์เอาเปล่าๆ
โดย ภาพยนตร์ เรื่องนี้ สร้างกระแสดราม่ามากมาย อาทิ “หนุ่ม กิติกร เพ็ญโรจน์” เจ้าพ่อเรียลลิตี้ผู้ปลุกปั้นรายการ เชฟกระทะเหล็ก, MasterChef Thailand ได้มาออกมาจวกยับว่าเป็นหนังที่ไม่ให้เกียรติอาชีพเชฟ แม้ไม่ได้เอ่ยชื่อหนังเรื่องดังกล่าวก็ตาม
นอกจากนี้ ยังมี คำพูดในภาพยนตร์มากมาย ที่ถูกแชร์ต่อกัน อาทิ คำพูดพ่อของ “ออย” ที่พูดถึงอาหารแพงๆ ว่า “มันแพงเพราะมันพิเศษ หรือมันพิเศษเพราะมันแพงวะ”
“คนจนเวลาหิว ก็แค่ต้องการอาหารให้อิ่ม แต่พอไม่มีปัญหาปากท้อง ความหิวก็เปลี่ยนไป หิวการยอมรับ ความพิเศษ หิวประสบการณ์ที่เหนือกว่าคนอื่น” ซึ่งคำพูดนี้ เป็นคำพูดของ เชฟพอล (แสดงโดย ‘ปีเตอร์-นพชัย ชัยนาม’) เป็นต้น
เมื่อปากท้องไม่ใช่ปัญหาสลักสำคัญ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องดิ้นรนวิ่งหาอย่างยากลำบาก
ความหิวก็กลับกลายสภาพเป็นอย่างอื่น
บ้างหิวอำนาจ หิวความสำเร็จ หิวการยอมรับ คนหิวเกมกระหายเต็มเรื่อง หรือแม้แต่หิวประสบการณ์ที่เหนือชั้นกว่าคนอื่น..โดยไม่สนว่าต้องแลกมากับอะไร
คุณรู้จักความหิวดีพอหรือยัง?
รู้หรือเปล่าว่า “ความหิว” บีบให้คนเราทำอะไรได้บ้าง?
นั่นคือคำเชิญชวนจาก “HUNGER คนหิว เกมกระหาย” ที่กระตุ้นให้ต่อมความหิวโหยของเหล่าคนดูกำเริบ ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดจากฝีมือการกำกับของสิทธิศิริ มงคลศิริ โดยได้คงเดช จาตุรันต์รัศมี รับหน้าที่เขียนบทและนั่งแท่นโปรดิวเซอร์ร่วมกับ โสฬส สุขุม
“ออย” ทายาทร้านราดหน้า–ผัดซีอิ๊วที่ได้รับคำเชิญชวนให้เข้าไปอยู่ในทีม “Hunger” ทีมของเชฟพอล เชฟอันดับหนึ่ง ยอดอัจฉริยะ แต่นั่นกลับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ออยค้นพบด้านมืดของวงการอาหารชั้นสูง และรู้จักอำนาจแห่งความหิวกระหายที่อยู่เหนือสิ่งใด
หากใครคาดหวังเรื่องราวของอาหารล้วนๆ อาจจะไม่ตรงใจสักเท่าไร เรียก “Hunger” ว่าภาพยนตร์ตีแผ่สังคมผ่านจานอาหารโดยมีนิยามของ “ความหิว” เป็นแกนหลักน่าจะเข้าท่ากว่า มีจังหวะกัดจิก ตั้งคำถามกับการเมือง สังคม ชนชั้นอย่างโจ่งแจ้ง มีการจัดวางภาพและสัญญะต่างๆให้ได้ขบคิดตีความอยู่เสมอ
“เพราะอาหารนั้นพิเศษจึงแพง หรือความแพงทำให้อาหารนั้นพิเศษ”
โลกของเชฟพอล โลกของออย , ครัว Fine Dinning หรูหรา ร้านผัดซีอิ๊วของครอบครัว โต๊ะอาหารสุดอู้ฟู่ในงานปาร์ตี้ของเหล่าไฮโซ ร้านอาหารข้างทางที่มีคนงานหาเช้ากินค่ำ ห้องพักฟื้นแสนสงบ กับห้องผู้ป่วยรวมที่แออัด
ภาพคู่ขนานร้องเรียงต่อกันมาเรื่อยๆ สะท้อน “ความเหลื่อมล้ำ” สิ่งที่นำมาซึ่งความหิว และยังชวนให้ติดตามว่าความหิวจะนำพาตัวละครไปถึงจุดไหน ในวันที่ความกระหายบีบรัดเราทุกทาง เรายังจะยืนหยัดในตัวตนได้หรือเปล่า ยังจะมั่นคงกับมาตรฐานคุณธรรมของโลกนี้หรือไม่ ที่น่าขนลุกคือภาพที่เราได้เห็นเป็นเรื่องจริง ของจริง มีอยู่จริงในสังคมของเราจริงๆ แบบไม่อิงนิยาย เพียงแค่ภาพยนตร์ขยายให้เห็นชัดเจน ขยี้จนติดตาทุกฉากทุกตอน