เธอกับฉันกับฉัน เต็มเรื่อง ฟรี
เธอกับฉันกับฉัน เต็มเรื่อง ฟรี ในปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) ที่ทั่วโลกกำลังพูดถึงปัญหา Y2K และข่าวลือว่าโลกอาจจะแตกในวันสิ้นปี ‘ยู-มี’ (ใบปอ ธิติยา จิระพรศิลป์) ฝาแฝดวัย ม.ต้น ก็เป็นอีกคู่ที่กังวลกับอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งคู่สนิทและรักกันมาก แชร์ทุกอย่างร่วมกัน จนต่างเป็นเหมือนโลกทั้งใบของกันและกัน
แต่แล้ววันหนึ่งเมื่อเด็กผู้ชายที่ชื่อ ‘หมาก’ (โทนี่ อันโทนี่ บุยเซอเรท์) ได้เข้ามาในชีวิต พวกเธอจึงได้สัมผัสกับ “รักครั้งแรก..ที่ไม่อาจแชร์ให้กันได้” ทั้งคู่จะจัดการกับความสัมพันธ์นี้ และก้าวผ่านช่วงเวลาที่สับสนบนโลกที่เหมือนว่ากำลังจะแตกลงไปได้อย่างไร
หลายคนที่ติดตาม ววแอดไวซ์เด้อ อาจยังไม่รู้ว่านอกจาก KRUA.CO แล้ว ววยังทำงานกำกับและเขียนบทหนัง/ซีรีย์ด้วย และผลงานล่าสุดคือภาพยนตร์ “เธอกับฉันกับฉัน” ที่ทั้งคู่ไปถ่ายทำที่นครพนม วันนี้หนังเข้าโรงภาพยนตร์แล้วววเลยจัดทริปเล็ก ๆ พาบิ๊มกินแหลกไปเที่ยวตามรอยโลเคชั่นหลัก ๆ ที่นครพนมซะหน่อย พร้อมพากินร้านโปรดอันเป็นแหล่งชุบชูจิตใจววช่วงออกกองถ่าย ไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง (ใครดูหนังแล้วต้องอินแน่ ๆ เธอกับฉันกับฉัน แต่ใครที่ยังไม่ดูก็สบายใจได้ คลิปนี้ไม่สปอยหนังแต่อย่างใด แต่ดูจบแล้วต้องไปดู “เธอกับฉันกับฉัน”
หลายคนเป็นผู้ใหญ่แล้ว หลายคนยังเป็นเด็ก และหลายคนยังไม่เกิด แต่สำหรับ ยูกับมี (แสดงโดย ธิติยา จิระพรศิลป์) ฝาแฝดหญิงพบว่าชีวิตของพวกเธอกำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ในปิดเทอมฤดูร้อน เมื่อพ่อมีปัญหาหนี้สินและทะเลาะกับแม่อย่างรุนแรงเสียจนแม่ต้องหอบพาพวกเธอไปพักใจกับยายที่นครพนม ยูจึงใช้เวลาว่างไปหัดเรียนพิณซึ่งทำให้เธอได้เจอ หมาก (แสดงโดย อันโทนี่ บุยเซอเรท์) เด็กหนุ่มลูกครึ่งที่เรียนรั้วโรงเรียนเดียวกันที่กรุงเทพฯ แต่ตัดสินใจลาออกและหวังมุ่งมั่นกับการเป็นนักพิณหาเลี้ยงตัวเอง
ความสัมพันธ์ของทั้งสองก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้สายตาจับจ้องของมีที่รู้สึกราวกับเธอกำลังสูญเสียความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดของชีวิตไป ท่ามกลางบรรยากาศหวาดวิตกเมื่อโลกกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ศตวรรษใหม่แห่งความไม่แน่นอน
เธอกับฉันกับฉัน (2023) คืองานกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ วรรณแวว และแวววรรณ หงษ์วิวัฒน์ คนทำหนังฝาแฝดที่เคยทำสารคดี WISH US LUCK ขอให้เราโชคดี (2012) เล่าเรื่องการเดินทางจากลอนดอนถึงกรุงเทพฯ ด้วยเส้นทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียน
ความที่ ‘เธอกับฉันกับฉัน‘ สำรวจเรื่องราวผ่านสายตาของเด็กสาวในวัยที่กำลังจะเติบโตไปเป็นหญิงสาว มันจึงจับจ้องไปยังตัวละครและสิ่งที่พวกเธอเห็นด้วยสายตาอ่อนโยน ละมุนละม่อม ขณะเดียวกันก็อ่อนไหวและช่างสงสัย ตั้งแต่ความสัมพันธ์ของพ่อกับแม่ ประจำเดือนครั้งแรก ไปจนถึงรายละเอียดเล็กจ้อยบนใบหน้าของหนุ่มลูกครึ่ง
อาจจะกล่าวได้ว่า แม้หน้าหนังดูจะพูดเรื่องการเป็น ‘รักสามเส้า’ ของเด็กหนุ่มและแฝดสาว แต่เอาเข้าจริง น้ำเสียงหลักของหนังกลับเป็นการสำรวจความสัมพันธ์ของฝาแฝดมากกว่า เมื่อมีพบว่านับตั้งแต่หมากก้าวเข้ามาในชีวิต ยูก็เริ่มเหลือเวลาให้เธอน้อยลง มิหนำซ้ำสิ่งที่เป็นเสมือนพิธีกรรมของทั้งสองอย่างการหักไอติมรสส้มแบ่งให้กันกินก็ดูจะไร้ความหมายในสายตาของยู
ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวดูจะเป็นสิ่งที่หนังใช้เป็นโครงเรื่องหลัก
เมื่อฝาแฝดต้องตามแม่มาอยู่ต่างจังหวัด พวกเธอก็พบว่าเรื่องราวของพ่อหายลับไปจากการรับรู้อย่างช้าๆ ทั้งนครพนมยังเป็นพื้นที่ซึ่งพวกเธอ ‘เป็นอื่น’ เพราะพูดอีสานได้ไม่คล่องปาก อาจจะเป็นความรู้สึกเดียวกันกับที่หมากผู้เป็นลูกครึ่งรู้สึกเช่นกัน
ความรู้สึกโดดเดี่ยวจึงตรึงอยู่ในเนื้อตัวของตัวละครตั้งแต่แรกเริ่ม โลกก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตทำให้พวกเธอไม่รู้ว่าพ่อกินอยู่อย่างไร นานครั้งจึงโทรศัพท์ไปหาเพื่อจะได้รับคำตอบอันเปล่าดายว่า ‘สบายดี’ ปราศจากเรื่องราวอื่นใดแฝงในนั้น
ปี 1999 และช่วงรอยต่อก่อนย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ถือเป็นช่วงก่อนหน้าการมาถึงของอินเทอร์เน็ตแบบเต็มตัว กระนั้นโลกก็ตื่นตาตื่นใจกับเทคโนโลยีสดใหม่เล็กๆ น้อยๆ ตั้งแต่ ทามาก๊อต ที่โฆษณากันว่าเป็นการ ‘เลี้ยงสัตว์’ จำลองในหน้าจอเล็กจิ๋ว, โทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นตัวปลดระวางโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์สาธารณะ หรือเทคนิคคอมพิวเตอร์สุดอลังการใน The Matrix (1999) ซึ่งราวกับโชว์ให้เห็นว่าศักยภาพของคอมพิวเตอร์ในการสร้างฉากจำลองแต่ละฉากนั้นทรงพลังมากเพียงใด (และอีกด้านหนึ่ง เทคโนโลยีในเรื่องก็น่ากลัวเพียงใดด้วย!)
ในเวลานั้น ประเทศไทยเพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง อันเป็นหนึ่งในวิกฤตที่รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ได้เพียง 2 ปี และหลายคนยังต้องกัดฟันสู้จนยิบตาเพื่อจะได้กลับมามีงานทำอีกหน และดูเหมือนว่าพ่อของยูกับมีน่าจะเป็นหนึ่งในผู้คนเหล่านั้น
หนังแนะนำตัวละคร ‘พ่อ’ ว่าเป็นชายที่ใจดีและดูสนิทสนมกับลูก ขณะที่แม่ดูเหินห่างและเข้มงวดมากกว่า ทั้งคู่ต้องหาทางรับมือคนทวงหนี้ที่บุกมาถึงประตูบ้าน ก่อนที่การถกเถียงจะลามกลายเป็นการทะเลาะครั้งใหญ่ที่ลากให้เห็นปัญหาอื่นที่ซุกซ่อนอยู่ใต้พรมในบ้าน (เช่น เรื่องที่ว่าพ่อของแฝดอาจมีชู้รัก) ครอบครัวของพวกเธอเลยเป็นหนึ่งในครอบครัวชนชั้นกลางที่ต้องเผชิญหน้ากับชะตากรรมแห่งความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
หนังยังสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกแฝด เธอเข้มงวดและอาจจะไปถึงขั้นเย็นชา หนังถ่ายให้เห็นฉากลูกสาวให้พ่อเล่นเกมปิดตาทายชื่อพวกเธอ และมีแม่ที่ทำกับข้าวและคอยฟังอยู่ห่างๆ โดยเธอจำแนกลูกแฝดได้อย่างไม่ยากเย็นนัก หากแต่ก็เป็นการทายที่เธอรู้อยู่แก่ใจเพียงลำพัง ทั้งเมื่อเธอหอบเอาลูกไปอยู่นครพนม หนังก็แทบไม่ได้ให้พื้นที่เล่าการเผชิญหน้าระหว่างเธอกับลูกๆ เท่าไรนัก
‘แม่’ มักปรากฏตัวในลักษณะหันหลังพูดกับลูก หรือไม่ก็เอ็ดเด็กๆ ด้วยท่าทีดุดัน เทียบกับตัวละครยายแล้วเธอจึงดูห่างเหินกว่ามาก หากก็น่าสนใจที่ดูเป็นความห่างเหินซึ่งตัวหนังตั้งใจทิ้งระยะไว้เพื่อให้แม่ดูแปลกหน้าและเป็นอื่น ทั้งในสายตายูกับมี และในสายตาคนดู
มิหนำซ้ำ โลกก็ดูไม่มีอะไรแน่นอนอีกต่อไป เมื่อความผันผวนครั้งใหญ่มาเยือนในนามของ Y2K หรือ Millennium Bug อันหมายถึงปัญหาที่เกิดจากระบบการบันทึกข้อมูลจำนวนปีของหน่วย ค.ศ. ที่อาจส่งผลให้ระบบสาธารณูปโภค ธนาคาร ตลอดจนสายการบินทำงานผิดพลาด ตลอดทั้งเรื่อง ตัวละครยูกับมีแวดล้อมด้วยข่าวจากโทรทัศน์ ที่เป็นเสมือนข้อมูลสื่อสารกระแสหลักเพียงอย่างเดียวในเวลานั้น คอยรายงานความน่าสะพรึงกลัวของโลกอนาคตที่กำลังจะมาเยือนพวกเธอในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า รวมทั้งมันยังเป็นขวบปีที่ นอสตราดามุส นักพยากรณ์ชาวฝรั่งเศสชื่อก้องโลกทำนายไว้ว่าจะเป็นปีที่โลกถึงกาลดับสูญ
เช่นเดียวกับคนอีกครึ่งค่อนโลก
ฝาแฝดจินตนาการถึงโลกที่แตกดับไม่ออก แต่ความหวาดหวั่นและไม่มั่นคงนั้นเป็นของจริง จนเราอาจจะกล่าวได้ว่า ตัวละครและผู้คนในห้วงเวลานั้นต่างเติบโตมาพร้อมความสับสน งุนงงและทฤษฎีสมคบคิดมากมายมหาศาล พร้อมกันกับการคืบคลานมาถึงของโลกอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม ด้วยจังหวะเนิบช้าและอ่อนโยน หนังก็ตัดสลับเข้าสู่จุดที่รุนแรงในช่วงท้ายเรื่องเพื่อขับเน้นประเด็นความสัมพันธ์ของฝาแฝด ซึ่งก็น่าตั้งคำถามว่าอะไรทำให้หนังเลือกเล่าเรื่องและคลี่คลายปมด้วยท่าทีเช่นนี้
เมื่อหนังใช้ปมครอบครัวขับเน้นไปจนถึงช่วงท้ายเรื่อง กลับยิ่งดูแยกขาดจากองก์แรกและองก์ที่สองของหนัง ราวกับตัวหนังพยายามรีบร้อนสรุปประเด็นทุกอย่างที่อยากสื่อสารให้ครบภายในเวลา 30 นาทีสุดท้ายก่อนท้ายเครดิตจะขึ้น ส่งผลให้ความไหลลื่นที่หนังประคองมาได้อย่างดีตลอดทั้งเรื่องเสียหลักไปอย่างน่าเสียดาย
ทั้งนี้ ธิติยา จิระพรศิลป์ ผู้รับบทเป็นทั้งยูและมีคือคนที่แบกหนังได้อย่างน่าชื่นชม การปรากฏตัวของเธอไม่เพียงชวนมองเท่านั้น หากแต่ยังเป็นนักแสดงที่เข้าอกเข้าใจตัวละครของเธออย่างชัดเจน อันจะเห็นได้จากการใช้น้ำเสียง ลักษณะการพูด หรือแม้กระทั่งวิธีการแสดงออกเล็กๆ น้อยๆ อย่างการยิ้ม การทอดสายตามอง ชนิดที่แม้ตัวละครจะทำผมหรือแต่งตัวเหมือนกัน ผู้ชมก็ยังแยกเธอออกได้อย่างไม่ยากเย็น และด้วยความสามารถเช่นนี้เอง จึงไม่เกินเลยนักหากเราจะกล่าวว่า เธอคือหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ทำให้หนังออกมามีมิติเช่นนี้
แล้วมันก็ดีจริงๆ ไง อาจไม่ถึงขั้นสุดยอดหนังไทยในดวงใจ แต่ในภาพรวมคือมันเป็นหนังไทยเปิดปีที่ดีมากๆ เรื่องหนึ่ง มีความถ่อมตน ธรรมชาติ ไม่ทะเยอทะยานเกินตัว เหมือนหนังทบทวนตัวเองของ gdh ที่อยากจะตบตัวเองให้เข้ารูปเข้ารอยอีกครั้ง ผมเห็นรีวิวหลายคนที่บอกว่ามันคือ “แฟนฉัน” ยุคใหม่ สำหรับผมมันอาจไม่ถึงขั้นนั้นเพราะ “แฟนฉัน” คือความยูนีคที่ยากจะหาใครมาโค่น แต่ก็เช่นกันที่ความถ่อมตัวและจริงใจของเรื่องนี้นั้นยากจะมองข้าม และการแสดงของน้องใบปอ ธิติยา จิระพรศิลป์ ก็มหัศจรรย์จนยกระดับให้ เธอกับฉันกับฉัน กลายเป็นหนังไทยประจำต้นปีที่ไม่อยากให้พลาด
เธอกับฉันกับฉัน
เธอกับฉันกับฉัน เล่าเรื่องราวของยูกับมี ฝาแฝดที่แทบจะก็อปปี้กันมา และมักจะใช้ประโยชน์จากความหน้าเหมือนของตัวเองในแบบที่ฉลาดแกมโกงหน่อยๆ วันหนึ่งในปี 1999 ท่ามกลางข่าวว่าโลกจะแตกในปีหน้า ครอบครัวที่กะท่อนกะแท่นของพวกเธอก็พาทั้งคู่มาสู่นครพนม ที่ๆ พวกเธอ จะได้เติบโต มีความรัก หึงหวง และเจ็บปวด ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ไม่สามารถจะแชร์ให้กันได้เป็นครั้งแรก
อย่างที่บอกว่าหนังถ่อมตัวไม่ทะเยอทะยานเกินไป ซื่อตรงกับสิ่งที่มีและพยายามนำเสนอสิ่งนั้นออกมาให้ดีที่สุด เธอกับฉันกับฉัน เล่นประเด็นความขัดแย้งของความเป็นแฝด ความสัมพันธ์ในครอบครัว รักสามเส้า ภายใต้ภาวะความประหวั่นว่าโลกจะแตกแบบบางๆ ที่คนยุคนั้นรู้สึกกัน มันจึงไม่มีอะไรโอเวอร์หรือเกินเลย ลามไปถึงการเดาความเป็นไปของเนื้อเรื่องได้แบบทะลุปรุโปร่ง แต่ถ้าคุณเคยได้ยินโควตประมาณ “ในการเดินทาง เป้าหมายไม่สำคัญเท่ากับเรื่องราวที่เจอระหว่างทาง” ล่ะก็ เรื่องนี้ก็ประมาณนั้นแหละ ถึงจะรู้ว่าต้องจบอย่างไร แต่การเล่าเรื่องเพื่อไปให้ถึงจุดนั้นก็งดงามเกินจะมองข้ามจริงๆ
ในแง่ของการแสดง “ใบปอ” ธิติยา จิระพรศิลป์ คือคนที่ฉายแสงที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย การเล่นเป็นฝาแฝดยูกับมี โดยที่ผู้ชมสามารถแยกออกได้ในเวลาไม่นานนั้นถือเป็นอัจฉริยภาพที่น่าชื่นชม เพราะแม้ตัวละครจะบอกโต้งๆ ว่าจุดต่างอยู่ที่ใฝ และถ้าสังเกตดีๆ ก็จะมีทรงผมด้วย แต่ผมว่าสิ่งที่ชัดเจนที่สุดในการแยก 2 ตัวละครนี้ออกจากกัน คือบุคลิก สีหน้า แววตา ท่าทาง และน้ำเสียง ที่แทบจะกลายเป็นคนละคนแบบคอมพลีทลี่ไปเลย ตรงนี้สุดยอดมากๆ กระนั้นก็ต้องยกความดีความชอบให้ทีมถ่ายทำ และวิช่วลเอฟเฟกต์ที่ทำออกมาได้เนียนกริ๊บมากๆ ด้วยเช่นกัน เพราะมันช่วยส่งเสริมให้เรารู้สึกว่าทั้งคู่เป็นฝาแฝดจริงๆ ในขณะที่น้องพระเอกอย่างอันโทนี่ก็ทำได้ไม่เลวเลย อาจไม่ได้ปล่อยพลังขนาดใบปอ แต่ดูดีมีอนาคตเลยแหละ
เรื่องให้ติมันมาแนวเทสต์ส่วนตัวกับไดเรคชั่นของเนื้อเรื่องที่พาตัวละครไปอยู่ในจุดที่รู้สึกติดนิดหน่อย กับความสัมพันธ์ของแฝดที่อยากให้ขยี้เพิ่มอีกนิด เพราะผมที่ไม่มีแฝดสามารถรับรู้ได้แล้วว่าความสัมพันธ์แบบนี้ไม่เหมือนกับพี่น้อง แต่มันก็ยังส่งไม่พอที่จะทำให้ผมดิ่งในตอนท้าย อีกเรื่องที่น่ากังวลคือคนที่ไม่เกิดยุคนั้นจะเก็ตได้ขนาดไหน เพราะส่วนหนึ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้โดนใจใครหลายคน ก็คือการจำลองโลกยุคคาบเกี่ยวระหว่างปี 1999-2000 ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศชวนคิดถึง และไอเทมอีสเตอร์เอ้กอีกเพียบ แบบว่าเคยผ่านมือมาแล้วทั้งนั้น จุดนี้ก็เป็นทั้งข้อดีและข้อเสียที่น่ากังวลสักหน่อย
แต่ถึงอย่างนั้นผมก็อยากจะย้ำคำเดิมว่า เธอกับฉันกับฉัน คือผลงานชั้นเยี่ยมอีกเรื่องหนึ่งในปีนี้ของวงการภาพยนตร์ไทยแน่นอน ใครที่อยากดูหนังสบายๆ เย็นๆ ดราม่าไม่หนักมาก และพาเรานั่งไทม์แมชชีนหวนคืนสู่เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วได้อย่างดี เธอกับฉันกับฉัน คือคำตอบที่รอให้คุณเข้าไปพิสูจน์ในโรงภาพยนตร์ครับ